ขั้นตอนที่2

การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ

วิสัยทัศน์ “มุ่งมั่นและยืนหยัดในการดำรงตำแหน่งผู้นำน้ำสมุนไพร ตราอิชิตุง”
พันธกิจ “ ผลักดันยอดขายให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงความพึงพอใจของผู้บริโภคผ่านการให้บริการที่เป็นเลิศและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมการศึกษา”
ค่านิยมองค์กร : เราจะสร้างวัฒนธรรมองค์กรบนพื้นฐาน
ความซื่อสัตย์ สุจริต ความซื้อสัตย์ สุจริต เปิดเผยและจริงใจ
ความคิดริเริ่ม หัดคิดงานใหม่ๆ ด้วยตัวเอง
เพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้า ทำให้เกิดความคาดหวังของลูกค้าเสมอ และเพิ่มมูลค่า
ให้แก่ธุรกิจของลูกค้า
การทำงานเป็นทีม ทำงานร่วมกัน และสนับสนุนเพื่อนร่วมงานเพื่อยกระดับ
ผลงานโดยรวม

เป้าหมาย
        นำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดระบบต่างภายในบริษัทเช่นระบบบัญชี ระบบรายรายจ่าย ระบบการสั่งซื้อเพื่อลดภาระการทำงานของฝ่ายบัญชีและเพิ่มความสะดวก ลดความยุ่งยากต่อพนักงาน

วัตถุประสงค์
        เพื่อพัฒนาระบบบัญชีที่มีอยู่เดิมให้มีความสะดวกยิ่งขึ้นในการพัฒนาระบบ รายรับ-รายจ่าย การสั่งซื้อของบริษัท มีวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานเพื่อวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาให้เป็นระบบงานบัญชีให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รายละเอียดของกาารพัฒนาระบบต่อไปนี้  
       -ระบบสามารถทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายและการสั่งซื้อสินค้า
       -ระบบสามารถวิเคราะห์สรุปยอดในแต่ละวันได้
       -ระบบจะต้องใช้งานสะดวกและง่ายต่อผู้ใช้
       -ระบบต้องมีความแม่นยำสูง
  
ปัญหาที่พบจากระบบเดิม
 1.  การเก็บรวบรวมข้อมูลวัตถุดิบและการค้นหาข้อมูลวัตถุดิบเกิดความซ้ำซ้อน
 2.  การจัดเก็บข้อมูลของสินค้าไม่เป็นระบบ
 3.  ข้อมูลที่ได้ไม่มีความชัดเจนและแน่นอน
 4.  เนื่องจากเป็นระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลอยู่ตลอดเวลาทำให้ข้อมูลเกิด ความเสียหาย   และสูญหาย
 5.  การทำงานของพนักงานแต่ละฝ่ายไม่มีความแน่นอน

ความต้องการในระบบใหม่ 
1.  ความรวดเร็วของระบบใหม่ในการทำงาน
2.  สามารถเก็บ และตรวจสอบวัตถุดิบได้
3.  สามารถเพิ่ม แก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของวัตถุดิบและข้อมูลคลังสินค้าได้
4.  การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานทุกฝ่ายเช่น บัญชี  พนักงานขาย  พนักงานเช็คสต็อก     พนักงานจัดส่งสินค้า  เป็นต้น
5. การจัดทำรายงานสรุปที่สะดวกรวดเร็วในการเสนอต่อผู้บริหารหรือผู้จัดการ

ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบใหม่
1.  บริษัทสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้
2.  บริษัทมีผลการดำเนินการที่ดีขึ้น
3.  ขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่ที่มีความรวดเร็ว
4.  สามารถจัดเก็บข้อมูลวัตถุดิบ ทำให้การสั่งซื้อวัตถุดิบได้รวดเร็วและถูกต้อง และมีเอกสารยืนยัน
5. การทำงานของพนักงานเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

แนวทางในการพัฒนา
การพํฒนาระบบของบริษัท อิชิตุง จำกัด มีแนวทางการพัฒนาดังนี้

  1. การค้นหาและเลือกสรรดครงการ
  2. การเริ่มต้นและการวางแผนโครงการ
  3. การวิเคราะห์ระบบ
  4. การออกแบบเชิงกายภาพ
  5. การออกแบบเชิงตรรกะ
  6. การพัฒนาและติดตั้งระบบ
  7. การซ่อมบำรุงระบบ

ขั้นตอนที่  1
การค้นหาและเลือกสรรโครงการ ( Project Identification and Selection )
                เป็นขั้นตอนในการค้นหาโครงการเพื่อพัฒนาระบบใหม่ให้เหมาะสมกับระบบเดิมหรือให้เหมาะสมกับองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือต้องการระบบเพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานในส่วนที่เกิดความบกพร่องของบริษัท เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดในการทำงานขององค์กร
              ดังนั้นจึงได้ยกตัวอย่างบริษัทที่ต้องการพัฒนาระบบ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ในส่วนของระบบที่ต้องการแก้ไขคือ
1.การคลังสินค้าสินค้า
2.การจัดซื้อจ่ายวัตถุดิบ
3.การรับคืนวัตถุดิบ

ขั้นตอนที่  2
การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
                เป็นขั้นตอนในการเริ่มต้นทำโครงการด้วยการเริ่มต้นจัดตั้งทีมงาน  ซึ่งเราจะต้องกำหนดหน้าที่ให้กับทีมงานแต่ละคนอย่างชัดเจนเพื่อร่วมกันสร้างแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งานและนอกจากขั้นตอนดังกล่าวแล้วยังมีขั้นตอนอื่นอีกมากที่เกี่ยวข้องซึ่งเราสามารถสรุปกิจกรรมในขั้นตอนนี้ได้ดังนี้
1.  เริ่มต้นทำโครงการ ก่อนเริ่มทำโครงการเราควรศึกษาระบบเดิมในการทำงานก่อน
2.  กำหนดวัตถุประสงค์หรือทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้
3. วางแผนการทำงานของระบบใหม่

ขั้นตอนที่  3 
 การวิเคราะห์
1.ศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบเดิม ดูว่าการทำงานของบริษัท มีการนำเทคโนโลยีมาใช้จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบเดิม และระบบที่เปลี่ยนแปลงของระบบคลังสินค้า
2.การรวบรวมความต้องการในระบบใหม่จากผู้ใช้ระบบ ศึกษาหรือสอบถามข้อมูลของระบบเดิมจากพนักงานหรือผู้ใช้ระบบ
3. จำลองแบบความต้องการที่รวบรวมได้ เมื่อเรารวบรวมข้อมูลมาได้แล้ว ก็สามารถออกแบบจำลองดังกล่าวได้   ด้วยวิธีการใดก็ได้ที่นักวิเคราะห์ระบบนำมาใช้ในการทำงานของระบบ

ขั้นตอนที่  4
การออกแบบเชิงตรรกะ
                เป็นขั้นตอนในการออกแบบขั้นตอนการทำงานของระบบในแต่ละส่วนงานหรือแต่ละแผนกของงาน  ซึ่งในการออกแบบระบบ  ระบบงานที่ได้ในแต่ละส่วนจะไม่เหมือนกัน  ซึ่งอาจจะมีแบบฟอร์มหรือผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเราวิเคราะห์ขบวนเสร็จเรียบร้อยแล้ว เช่น ในการสั่งจ่ายวัตถุดิบก็จะมีแบบฟอร์มในการสั่งจ่ายวัตถุดิบให้กรอก  หรือแม้แต่แบบฟอร์มในการกรอกข้อมูลการรับคืนวัตถุดิบและการออกแบบฐานข้อมูลในโปรแกรมต่าง ๆ

ขั้นตอนที่  5
 การออกแบบเชิงกายภาพ
                ในขั้นตอนนี้เป็นการทำงานของระบบในส่วนของเทคนิคของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงระบบอาจจะเป็นระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  โปรแกรมสำเร็จรูป  เพื่อให้ผู้ใช้งานระบบสามารถเข้าใจขั้นตอนการทำงานมากขึ้น  ซึ่งสิ่งที่ได้ในส่วนนี้จะเป็นแค่การออกแบบหลังจากนั้นจะทำการส่งให้โปรแกรมเมอร์ต่อไป

ขั้นตอนที่   6
การพัฒนาและติดตั้งระบบ
                ขั้นตอนนี้จะนำข้อมูลเฉพาะในส่วนที่ต้องการออกแบบของระบบมาทำการเขียนโปรแกรม  เพื่อให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่ต้องการของระบบงานใหม่  อาจนำโปรแกรมที่เขียนสำเร็จรูปแล้วมาใช้งานในระบบก็ได้  หลังจากเขียนโปรแกรมแล้วเราก็ควรทำการทดลองว่าโปรแกรมใช้งานได้เหมาะสมกับการทำงานของบริษัทหรือไม่  ซึ่งในขั้นตอนนี้มีกระบวนการทำงานดังนี้
1. เขียนโปรแกรม
2. ทดสอบโปรแกรม
3. ติดตั้งระบบ
4. จัดทำเอกสาร สรุปผลการทำงานของระบบ

ขั้นตอนที่   7
การซ่อมบำรุงระบบ
อาจจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการปรับปรุงระบบ  เพราะหลังจากได้ระบบใหม่มาแล้ว  เราก็นำเอาระบบที่ได้มานี้ทำการแก้ไขหากระบบที่ได้มาเกิดข้อผิดพลาด

แผนการดำเนินงานของโครงการ
           แผนการดำเนินงานของโครงการที่ต้องการวิเคราะห์ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลง  คือ ระบบการขาย  การจัดเก็บข้อมูลสินค้า  และส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้
                -  ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
                -  ประมาณการใช้ทรัพยากร
                -  ประมาณการใช้งบประมาณ
                -  ประมาณระยะเวลาดำเนินงาน

ทีมงานที่รับผิดชอบโครงการ
    นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ตลอดจนการเก็บรวบรวมและติดต่อประสานงานระหว่างผู้ใช้กับทีมโปรแกรมเมอร์ จัดทำเอกสาร ทดสอบระบบ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
    โปรแกรมเมอร์ ทำหน้าที่ในการเขียนและติดตั้งโปรแกรมของระบบ รวมทั้งทดสอบโปรแกรมและพัฒนาตัวต้นแบบเพื่อสอบถามความคิดเห็นและความพึ่งพอใจจากผู้ใช้

ประมาณการใช้แหล่งทรัพยากร
1.เครื่อง server
2.เครื่อง Workstation
3.อุปกรณ์ต่อพ่วง

ประมาณการใช้งบประมาณ
1.ค่าตอบแทนของทีมพัฒนาระบบ            100,000   บาท
2.ค่าอุปกรณ์ในการดำเนินการ                   150,000   บาท
3.ค่าบำรุงรักษาระบบ                                   50,000   บาท
         รวม                                                   300,000   บาท

ประมาณการระยะเวลาในการดำเนินงาน
      ระยะเวลาการดำเนินงานการจัดทำระบบบัญชี ประมาณการในระยะสั่น ระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งระยะเวลาที่ประมาณการนี้อาจมีการคาดเคลื่อนขึ้นอยู่กับอุปสรรค์ในการทำงาน กรณีไม่คาดคิด