ความเป็นมา

บริษัท อิชิตุง จำกัด


    บริษัท อิชิตุง จำกัด เป็นบริษัทเครื่องดื่มสมุนไพรมีการเปิดบริษัทขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ.2550 และได้ทำการพัฒนารสชาดเรื่อยๆมา เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และเครื่องดื่มชนิดนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากด้วย เพราะช่วยทำให้เจริญอาหารช่วยในระบบขับถ่าย และทำให้ผิวพรรณดี และทางบริษัทได้มีการส่งเสริมสังคมในด้านต่างมาเรื่อยมาเช่นใน เรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติ และส่งเสริมการศึกษา เป็นต้น ทางบริษัทได้มีการส่งเสริมการตลาดเพื่อปรับให้เข้ากลับสังคมในปัจจุบันด้วยการนำเอาเทคโนโลยี เข้ามาช่วยในการทำงานของบริษัท และยังมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้การพัฒนาธุรกิจและการเพิ่มมูลค่าของสินค้าที่ผลิตโดยเกษตรกรไทย การตลาดที่่ทางบริษัทมุ่งสู่กลุ่มเป้าหมายที่จะบริโภคเครื่องดื่ม คือพวกกลุ่มวัยรุ่นหนุ่มสาวและคนวัยทำงาน ทางบริษัทได้มีฝ่ายการทำงานอยู่จำนวน6แผนก คือ ฝ่ายการบัญชี ฝ่ายผลิต ฝ่ายการคลัง ฝ่ายการจัดซื้อ ฝ่ายการขนส่ง และฝ่ายการขาย

โครงสร้างองค์กร

ภารกิจหลักของบริษัท
     1. นำเสนอสิ่งดีให้กับลูกค้า
     2. ทำให้ลูกค้าพึงพอใจในรสชาติเครื่องดื่ม

วัตถุประสงค์ของบริษัท
     1. เพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้าให้มากขึ้น
     2. เพื่อขยายกิจการ
     3. เพื่อให้เป็นที่รู้จักของตลาด
     4. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน
     5. เพื่อให้บริษัทมีความมั่นคง

เป้าหมายของบริษัท
                สร้างผลกำไรสูงสุด

ความหมายของแต่ละแผนก
แผนกผลิต ทำหน้าที่ผลิตสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า

ปัญหาแผนกผลิตสินค้า
1. ปัญหาการผลิตสินค้าเกิดการล่าช้าไม่ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด  และไม่ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด   และไม่ต้องการที่กำหนดไว้
2. สินค้าไม่ครบตามจำนวนที่สั่งซื้อ
แผนกจัดซื้อ หมายถึงธุรกิจหรือองค์กรที่พยายามสำหรับการซื้อสินค้าหรือบริการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร แต่มีหลายองค์กรที่พยายามที่จะกำหนดมาตรฐานในกระบวนการจัดซื้อ, กระบวนการสามารถแตกต่างกันมากระหว่างองค์กร

ปัญหาแผนกจัดซื้อ
1. ตรวจสอบสินค้าในคลังได้ยากว่ามีสินค้าคงเหลือเท่าไรต้องสั่งซื้อเพิ่มอีกเท่าไร
2. เช็คยอดการเบิกจ่ายสินค้าในคลังได้ยาก
3. หากบิลสินค้าไม่ถูกต้อง อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้
4. ในการสั่งซื้อสินค้าอาจได้รับสินค้าได้ไม่ตรงตามต้องการ
5. เสี่ยงต่อการสูญหายได้ง่าย
แผนกจัดส่งสินค้า มีหน้าที่จัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า  โดยรับสินค้าจากแผนกคลังสินค้า

ปัญหาแผนกจัดส่งสินค้า
1. เอกสารข้อมูลมีจำนวนมาก เนื่องจากสินค้ามีหลายชนิดและหลายขนาด ทำให้การจัดเก็บเอกสารไม่เป็นระเบียบ
2. เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสารทุกชนิด   จัดเอกสารภายในแฟ้ม   ค้นหาเอกสารข้อมูลสินค้าได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมาก และจัดเก็บไม่เป็นระบบ
3. ถ้าข้อมูลสูญหาย   จะทำให้ไม่สามารถจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้   อาจทำให้ลูกค้าไม่พอใจ
4. ระยะเวลาในการจัดส่งสินค้าอาจใช้เวลานาน เนื่องจากต้องมีการค้นหาข้อมูลลูกค้าก่อน
แผนกบัญชี หน้าที่จัดการเงินค่าสินค้าและจัดทำบัญชีของบริษัทพร้อมทั้งทำรายงานงบการเงินเสนอผู้บริหารโดยผู้รับผิดชอบสั่งซื้อจากแผนกการขาย

ปัญหาของแผนกบัญชี
1. เอกสารมีจำนวนมาก   และจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
2. เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร   เพราะเอกสารทุกชนิดต้องเก็บภายในแฟ้ม
3. ค้นหาเอกสารได้ยาก   เนื่องจากมีเอกสารจำนวนมาก   และจัดเก็บไม่เป็นระบบ
4. เอกสารสูญหาย   เพราะมีจำนวนมากและเอกสารส่วนใหญ่เกี่ยวกับการเงินหากสูญหายบริษัทก็ได้รับ

ความเสียหายจำนวนมาก
5. การตรวจสอบเกี่ยวกับข้อมูลทางการเงินทำได้ล่าช้า    และไม่สะดวกรวดเร็ว
6. ข้อมูลอาจเกิดความผิดพลาด    หรือเอกสารไม่ถูกต้อง
แผนกขาย มีหน้าที่ในการบริการจำหน่ายสินค้าให้กับลูกค้า โดยแผนกการขายจะมีการเก็บข้อมูลลูกค้าที่สั่งซื้อและข้อมูลการส่งของ

ปัญหาแผนกการขาย
1. เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร เพราะเอกสารแต่ละชนิดจะจัดเก็บอยู่ในแฟ้ม
2. ค้นหาเอกสารได้ยากเนื่องจากเอกสารมีเยอะ และจัดเก็บไว้หลายที่
3. ข้อมูลมีการสูญหาย   เพราะไม่สามรถตรวจสอบได้ว่าเอกสารอยู่ตรงไหน เนื่องจากการเก็บเอกสารยังมาเป็นระบบ
4. ข้อมูลมีการซับซ้อน เนื่องจากลูกค้า 1 ท่านมาซื้อของหลายครั้ง แต่พนักงานขายเก็บข้อมูลทุกครั้งทำให้เอกสารซ้ำซ้อน
5. เอกสารมีจำนวนมาก ทำให้การจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
แผนกคลังสินค้า  แผนกสินค้ามีหน้าที่ตรวจสอบสินค้าและรับซ่อมสินค้าจากแผนกการขายสินค้าเพื่อจัดส่งไปยังแผนกจัดส่งสินค้า

ปัญหาของแผนกคลังสินค้า
1. เอกสารข้อมูลมีจำนวนมาก   เนื่องจากสินค้ามีหลายชนิด
2. เปลืองพื้นที่ในการตรวจสอบและจัดเก็บเอกสาร   เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
3. ค้นหาเอกสารข้อมูลหายได้ยาก    เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
4. ในการเช็คสต๊อกอาจเกิดความผิดพลาดขึ้น   เนื่องจากสินค้าจัดเก็บอยู่หลายที่ทำให้ไม่สามารถเช็คได้

ปัญหาระหว่างแผนก
แผนกการผลิต – แผนกจัดซื้อ
  -วัตถุดิบในการผลิตมาล่าช้าทำให้เกิดปัญหาสินค้าขาดตลาด
แผนกจัดซื้อ – แผนกการผลิต
 -ลายการสินค้าหล่นหายไม่สามารถจัดซื้อของตามรายการได้
แผนกการผลิต – แผนกการคลัง
  -ไม่รู้จำนวนสินค้าว่าเหลือมากน้อยเพียงใด
แผนกการคลัง - แผนกการผลิต
 -ปัญหาการจัดเก็บเป็นสินค้า การเคลื่อนย้ายสินค้า
แผนกการผลิต – แผนกจัดส่งสินค้า
        -ไม่รู้จำนวนสินค้าที่ส่งออกไปแล้ว
แผนกการผลิต-แผนกการขาย
        -รายการสินค้าที่มาจากแผนกการขายเกิดความล่าช้าไม่ชัดเจน
        -อาจมีรายการสินค้าตกหล่นไม่ชัดเจน
แผนกจัดซื้อ – แผนกบัญชี
        -การเบิกเงินในการซื้อมีความล้าช้า
        -บัญชีไม่ทราบยอดที่แน่นนอนในการจัดซื้อ
แผนกจัดซื้อ-แผนกผลิตสินค้า
        -การจัดซื้ออุปกรณ์การผลิตอาจไม่ตรงกับวัตถุประสงค์
แผนกบัญชี – แผนกจัดส่งสินค้า
         -ถ้าแผนกคลังสินค้าไม่แจ้งยอดให้แผนกบัญชีทราบบัญชีก็ไม่สามารถทำงบการเงินได้เพราะต้องทราบยอดสินค้าและคงเหลือแต่ละงวด
แผนกการคลัง-แผนกผลิตสินค้า
         -ปัญหาการจัดเก็บเป็นสินค้า การเคลื่อนย้ายสินค้า
แผนกบัญชีกับจัดส่งสินค้า
         -ถ้าแผนกคลังสินค้าไม่แจ้งยอดให้แผนกบัญชีทราบบัญชีก็ไม่สามารถทำงบการเงินได้เพราะต้องทราบยอดสินค้าและคงเหลือแต่ละงวด

สรุปปัญหาทั้งหมด
   1.เอกสารมีจำนวนมากและจัดเก็บไม่เป็นระบบ
   2.เปลื้องพื้นที่ในการจัดเอกสารเพราะเอกสารทุกชนิดต้องเก็บไว้ภายในแฟ้ม
   3.ค้นหาเอกสารได้ยากเนื่องจากมีเอกสารจำนวนมากและจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
   4.เอกสารสูญหายเพราะเอกสารมีจำนวนมากและเอกสารส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการเงินหากสูญหายบริษัทจะได้รับความสูญหายมาก
   5. การตรวจสอบเกี่ยวกับข้อมูลทางการเงินตรวจสอบได้ช้าไม่สะดวกรวดเร็ว
   6. ข้อมูลอาจเกิดการผิดพลาดหรือเอกสารไม่ถูกต้อง
   7. ในการเช็คสต๊อกอาจเกิดการผิดพลาดขึ้นเนื่องจากสินค้าจัดเก็บอยู่หลายที่ทำให้ผิดพลาดในการตรวจเช็คได้
   8. ข้อมูลมีการซ้ำช้อน – เนื่องจากลูกค้า 1 ท่านมาซื้อสิ้นค้าหลายครั้งพนักงานขายก็บข้อมูลทุกครั้งทำให้เอกสารซ้ำซ้อน
   9. ถ้าข้อมูลสูญหาย จะเกิดความเสียหายกับทางบริษัท
  10. ระยะเวลาในการจัดส่งสินค้า อาจใช้เวลานาน เพราะจะต้องมีการค้นหาข้อมูลลูกค้าก่อน
  11. สั่งสินค้าแล้วไม่มาตามกำหนดการณ์
  12. สินค้าได้ไม่ครบตามจำนวนการสั่งซื้อ
  13. สินจัดซื้อไม่ตรงตามต้องการ
  14. การเบิกเงินมีการล่าช้า
  15. บัญชีไม่ทราบยอดที่แน่นอน
  16. การล่าช้าในการจัดซื้ออุปกรณ์การผลิต
  17. บัญชีไม่ทราบการเบิกจ่ายเงินในแต่ละแผนก
  18. การผลิตสินค้าไม่พอสำหรับความต้องการในตลาด
  19. รายการสินค้าเพิ่มมาจากการขายทำให้เกิดความผิดพลาดหรือเกิดความล่าช้าไม่ชัดเจน
  20. อาจมีการตกหล่นทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามยอดที่แน่นอน
  21. ปัญหาการจัดเก็บสินค้าการเคลื่อนย้ายจากฝ่ายผลิตไปยังคลัง
  22. ปัญหาลุกค้าชำระเงินแล้วมัดจำเงินแล้ว

ระบบที่จะนำมาแก้ปัญหา
1.ระบบบัญชีรายรับ รายจ่าย              
2.ระบบการจัดเก็บเอกสาร                                                          
3.ระบบการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า                                                    
4.ระบบการจัดส่งสินค้าและตรวจเช็คสินค้าในสต็อก

แสดงการจำแนกกิจกรรมและการทำงานของบริษัท



ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง